ธุรกิจไทยกับการตลาด

พัฒนาแฟชั่นไทย

ภาพหมู่ผู้บริหาร

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.)กระทรวงอุตสาหกรรม รุกขับเคลื่อนอุตสาหกรรมแฟชั่นไทย ปี 58 สู่การเป็นที่ยอมรับในวงการแฟชั่นระดับอาเซียน ผ่านกลยุทธ์สร้างพื้นที่เพื่อส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแฟชั่นภายใต้แนวคิด “ดี สเปซ” (DSpace) ดีไซน์ (Design)ดีเวลลอป(Developed) และดำเนินการโดยดีไอพี (DepartmentofIndustrialPromotion: DIP) กลยุทธ์การพัฒนาอุตสาหกรรมแฟชั่นครบวงจรสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ (ValueCreation) ตั้งแต่กระบวนการผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์การพัฒนาตราสินค้าการเชื่อมโยงสู่เครือข่าย (Supply Chain) ทั้งภาคการผลิตและธุรกิจ การต่อยอดสู่ช่องทางการค้ารวมทั้งการขยายโอกาสทางการตลาดทั้งในและต่างประเทศผ่านกิจกรรม “ดี สเปซ(D Space): “ThailandFashionDesignBrands Developed by DIP”ภายใต้ 2 กิจกรรมสำคัญ ได้แก่ “กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์และต่อยอดตราสินค้าสู่อาเซียน” และ “กิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในอุตสาหกรรมแฟชั่น”

ดร.อรรชกา สีบุญเรือง ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า อุตสาหกรรมแฟชั่นเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจโดยเฉพาะประเทศไทยมีความได้เปรียบในหลายด้าน ได้แก่ ทักษะฝีมือ โลจิสติกส์ความพร้อมด้านวัตถุดิบ ตลอดจนได้สะสมความเชี่ยวชาญด้านการผลิตมาอย่างยาวนาน จึงทำให้อุตสาหกรรมแฟชั่นทั้ง3 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเครื่องหนังและรองเท้า และ อัญมณีและเครื่องประดับ มีความโดดเด่นเป็นที่ยอมรับในระดับสากลโดยในปี 2557 มีมูลค่าส่งออกต่อปีสูงกว่า 607,200 ล้านบาทและก่อให้เกิดการจ้างงานรวมกว่า 2.2 ล้านคน กระทรวงอุตสาหกรรมจึงตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมแฟชั่นจึงได้ดำเนิน “โครงการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมแฟชั่นไทย” โดยดำเนินการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมแฟชั่นทั้งด้านการเพิ่มผลิตภาพการผลิตและการพัฒนานวัตกรรมการออกแบบให้ตรงกับความต้องการตลาดเป้าหมาย สร้างเสริมปัจจัยที่จะก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มต่อสินค้าแฟชั่นแบรนด์ไทยทั้งในเชิงการสร้างเอกลักษณ์ของสินค้า สร้างการจดจำตราสินค้าให้แบรนด์ไทยสามารถแข่งขันได้ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ

ดร.อรรชกา กล่าวต่อว่า จากที่ปัจจุบันอุตสาหกรรมแฟชั่นมีการแข่งขันสูงทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ฉะนั้นผู้ประกอบการไทยจึงจำเป็นต้องพัฒนาตนเองโดยสิ่งสำคัญคือต้องทำให้สินค้านั้นเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายด้วยการสร้างตราสินค้าให้เป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับในวงการแฟชั่นและคนทั่วไป นอกจากนี้ คุณภาพของสินค้าแฟชั่นก็เป็นสิ่งสำคัญที่บ่งชี้ถึงมาตรฐาน เอกลักษณ์และคุณค่าของสินค้านั้นๆอย่างไรก็ดีการที่จะทำให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้ ผู้ประกอบการจะต้องได้รับความรู้ความเข้าใจ คำแนะนำและประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันในตลาดการค้า และยกระดับความสามารถในการกำหนดราคาให้สูงกว่าสินค้าประเภทเดียวกันที่ยังไม่มีตราสินค้าถือเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value creation) ให้กับอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดี

นายอาทิตย์วุฒิคะโร อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมกล่าวเพิ่มเติมว่ากสอ. ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการดำเนินกิจกรรมด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการต่อยอดตราสินค้าในอุตสาหกรรมแฟชั่น ซึ่งตรงกับความต้องการของกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนังและรองเท้า อัญมณีและเครื่องประดับจึงได้จัดให้มีกิจกรรมส่งเสริมผู้ประกอบการแต่ละวิสาหกิจให้ได้รับการต่อยอดสินค้าเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ของตนเองให้เป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับในวงการแฟชั่นระดับอาเซียน ตามยุทธศาสตร์การส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรมให้เกิดการเชื่อมโยงกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อการแข่งขันในระดับสากล ผ่านกิจกรรม “Thailand FashionDesign Brands Developed byDIP”ภายใต้ “กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์และต่อยอดตราสินค้าสู่อาเซียน”และ “กิจกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในอุตสาหกรรมแฟชั่น” ในกรอบแนวคิดหลัก ดีสเปซ (DSpace) ซึ่งอักษร D ประกอบด้วย 1. การออกแบบ(Design) คือการออกแบบผลิตภัณฑ์ (สำเร็จรูป) ให้สอดรับกับแนวโน้มแฟชั่นและตรงตามความต้องการของตลาดและสร้างจุดขาย รวมทั้งสร้างสรรค์วัตถุดิบให้มีคุณภาพมีความหลากหลายและมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่ตรงกับการนำไปผลิตผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป 2. การพัฒนา(Developed)คือการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในอุตสาหกรรมแฟชั่น ทั้งในเรื่องบุคลากร นักออกแบบกระบวนการผลิต และการนำนวัตกรรมมาใช้ และ 3.ดำเนินการอย่างบูรณาการโดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DepartmentofIndustrialPromotion:DIP)ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการสู่การพัฒนาเป็นศูนย์กลางแฟชั่นของอาเซียน

อย่างไรก็ตาม กิจกรรมดังกล่าวเป็นเสมือนการสร้างพื้นที่ในการพัฒนาอุตสาหกรรมแฟชั่นตั้งแต่กระบวนการผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การพัฒนาตราสินค้าเชื่อมโยงสู่เครือข่าย (SupplyChain)ทั้งภาคการผลิตและธุรกิจ ตลอดจนต่อยอดสู่ช่องทางการค้ารวมทั้งการขยายโอกาสทางการตลาดทั้งในและต่างประเทศเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์และตราสินค้าแฟชั่นไทยสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ (ValueCreation) โดยคาดหวังให้ผู้ประกอบการทั้ง 3 กลุ่มอุตสาหกรรมสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์และต่อยอดตราสินค้าให้มีมูลค่าเพิ่ม หรือแนวความคิดการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆตลอดจนสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์และตราสินค้าเผยแพร่ให้เป็นที่รับรู้ในตลาดอาเซียน โดยตั้งเป้าส่งเสริมให้เกิดการใช้วัตถุดิบที่พัฒนาขึ้นในประเทศมากยิ่งขึ้น มีการจับจ่ายใช้สอยผลิตภัณฑ์ที่เป็นแบรนด์ไทยเพิ่มขึ้น ทั้งจากความต้องการภายในประเทศและจากนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในประเทศมีการสั่งซื้อหรือส่งออกวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปจากอุตสาหกรรมแฟชั่นไปต่างประเทศเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีการยอมรับแบรนด์ไทยในภูมิภาคอาเซียนและภูมิภาคอื่น ๆ เป็นต้น ทั้งนี้ คาดว่าในปี 2558 จะมีผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า 1,900 คน และกิจการไม่น้อยกว่า 370 กิจการ เข้าร่วมในกิจกรรมการพัฒนาต่าง ๆนายอาทิตย์ กล่าว

แฟชั่นโชว์ (4)

สำหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแฟชั่นที่สนใจเข้ารับการส่งเสริมและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่กิจการ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา 1 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม           โทร. 023678219, 023678221, 023678290 และติดตามข่าวสาร กิจกรรม โครงการต่าง ๆ ได้ที่ www.dip.go.th หรือwww.facebook.com/dip.pr หรือTwitter: DIPThailand

กลยุทธ์เจาะตลาด AEC

ดร.นิลสุวรรณวันนี้ (27 กพ.58) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้จัดให้มีการอบรมเรื่อง “กลยุทธ์การเจาะตลาด AEC” โดย ดร.นิลสุวรรณ ลีลารัศมี รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นผู้บรรยาย โดยได้กล่าวว่า ในปลายปีนี้ ไทยกับ 9 ประเทศ จะรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียน (AC) ลดข้อจำกัดด้านการค้า ซึ่งก็จะส่งผลดีและผลเสียให้กับนักธุรกิจไทย ดังนั้น จึงต้องมีการวางแผน ปรับตัว เพื่อสร้างโอกาสครั้งนี้ โดยยอดการส่งออกจะเพิ่มถึง 8 เท่า (อาหาร, สิ่งทอ ฯลฯ), อาเซียนรับรู้อยู่แล้วว่า ประเทศไทยได้ชื่อว่าผลิตสินค้าที่มีุคุณภาพ ในขณะเดียวกัน ก็จะมีสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้านทะลักเข้ามาตีตลาดในบ้านเรามากขึ้น รวมถึงเวลาที่ไปวางขายในต่างประเทศ ก็มักจะมีปัญหาสินค้าเลียนแบบตามมา

“ที่เวียดนามเหนือ  สินค้าของแท้และของเทียมวางขายแผงเดียวกันเลย อย่างผมส่งยาหม่องถ้วยทองไปขาย ก็โดนเลียนแบบ เราอาจต้องยอมเสียเวลาวันหนึ่ง สังเกตุว่าลูกค้าเขาเลือกซื้ออะไรมากกว่ากัน ถ้ายอมจ่ายแพงกว่า ซื้อของเรา ก็ยิ่งทำให้เสริมความมั่นใจของตลาด ยอดขายไม่ตก เราก็ไม่ต้องไปเดือดร้อนอะไร…การค้าขายในต่างประเทศต้องให้ความสำคัญเรื่องของพฤติกรรมลูกค้าเป็นหลัก ต้องปรับให้เข้ากับรสนิยม ยาหม่องบางยี่ห้อแต่งกลิ่นไม่เหมือนกันนะ แม้จะเป็นแบรนด์เดียวกัน เพราะคนชอบดมไม่เหมือนกัน อย่างของเรากลิ่นมาตรฐานเหมือนกันหมด ก็อาจจะเข้าไปขายลำบาก”

aecปัญหาใหญ่ที่จะตามมาก็คือกฏข้อระเบียบจะมีความเข้มงวดขึ้น ซึ่งรวมถึงมาตรฐานในการส่งออก เช่น ISO 9000 ที่เป็นมาตรฐานสากลจะมีการกวดขันมาก

ลำดับสินค้าเกษตรกรรมที่ไทยส่งออกไปอาเซียนมาก ประกอบด้วย ข้าว, ข้าวโพด, มันสำปะหลัง, ผลไม้, กุ้ง, ปลา, ไก่  (สด แห้ง แช่เย็น แช่แข็ง)

สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรที่ไทยส่งออกไปอาเซียนมี น้ำตาลทราย, เครื่องดื่ม อาหารแปรรู อาหารสัตว์เลี้ยง ไขมัน และน้ำมันจากพืชและสัตว์ นมและผลิตภัณฑ์นม สารปรุงรส ผลไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ข้าว และอาหารทะเลแปรรูป

ดร.นิลสุวรรณ ย้ำเตือนว่า ผู้ประกอบการ SME ไทยควรศึกษาเรื่องของเครื่องมือด้านการผลิต TQM, PDCA, Lean , เครื่องมือด้านการบริหารจัดการ Scenario Analysis & Planning, Balanced Scorecard รวมถึงเทคโนโลยีที่ช่วยขยายตลาด ไม่ว่าจะเป็น Social Media,Facebook ซึ่งความรู้เหล่านี้สามารถค้นหาได้จาก http://www.google.com ตลอดเวลา ถ้าทำเองไม่ได้ ก็ต้องหาคนมาช่วย โดยเฉพาะเรื่องภาษา ถ้าจะค้าขายประเทศไหน รู้วัฒนธรรม พูดภาษาเขาได้ ก็จะได้เปรียบกว่า

“การรับรู้ข้อมูลวันนี้เป็นประโยชน์เพียงส่วนหนึ่ง แต่การที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในประเทศนั้นๆ เราควรต้องไปดูด้วยตาตนเอง เตรียมงบเลยสักสามหมื่นบาทต่อเดือน  ไปสังเกตุว่าอะไรที่เหมือน อะไรที่แตกต่าง อย่างคนอินโดนีเซียตื่นเช้าเหมือนเรานะ แต่เขาไม่นิยมทานข้าวเช้าที่บ้านเหมือนไทย เขาชอบออกไปซื้อของทานนอกบ้านมากกว่า เพราะรู้สึกว่าราคาถูกกว่าทำกินเอง อย่างนี้ถ้าจะเอาของกินไปขาย ก็ต้องรู้ว่าจะขายแพงไม่ได้ ถ้ามีนวัตกรรมเข้าไปด้วยยิ่งดีใหญ่ อย่างปาท่องโก๋ ที่ให้คนซื้อไปเวฟร้อนแล้วยังกรอบอยู่….มีเท่าไหร่ก็ขายไม่ทัน !” ดร.นิลสุวรรณสรุป

 

ดาวน์โหลด กลยุทธ์เจาะตลาด AEC

6 กลยุทธ์การเจาะตลาด

หอการค้าอินโดนีเซีย-ไทย ส่งเสริมการค้าฉลอง 65 ปีความสัมพันธ์

หอการค้าไทยอินโดนีเซีย

ในวาระครบรอบ 65 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐอินโดนีเซีย หอการค้าอินโดนีเซีย-ไทย  ได้แถลงนโยบายประจำปี 2558 พร้อมแนะนำกรรมการบริหารชุดใหม่ โดยได้รับเกียรติจากนายลุตฟี ราอุฟ เอกอัครราชทูตอินโดนีเซียประจำประเทศไทยนายประจวบ ไชยสาส์น ที่ปรึกษาหอการค้าอินโดนีเซีย-ไทย และนางซาราสวาตี แอลลี ซันโตโซ ประธานหอการค้าอินโดนีเซีย-ไทยเป็นผู้แถลง

นายลุตฟีราอุฟกล่าวว่า “ราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐอินโดนีเซียได้ดำเนินความสัมพันธ์ทางการทูตมาเป็นเวลายาวนานนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 ไทยและอินโดนีเซียยังเป็นผู้ริเริ่มสำคัญในการรวมกลุ่มในภูมิภาคอย่างการก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือASEAN ในปี พ.ศ. 2510 ปัจจุบันอาเซียนได้กลายเป็นภาคส่วนที่สำคัญของยุทธศาสตร์การพัฒนาโลก การรวมตัวกันทางเศรษฐกิจของอาเซียนในชื่อ ‘ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน’หรือ เออีซี ในปลายปีนี้ จะเป็นบททดสอบอันสำคัญของความพยายามของภูมิภาคนี้”

1424826009210

นายประจวบ ไชยสาส์น เปิดเผยว่า “หอการค้าอินโดนีเซีย-ไทย ได้ดำเนินยุทธศาสตร์ Assist – Access – Act เพื่อทลายกำแพงกั้นทางการค้าระหว่างประเทศอินโดนีเซีย

และประเทศไทย โดยให้การสนับสนุนด้านข้อมูลที่เป็นปัจจุบันที่สุดในด้านการลงทุน ระเบียบกฎหมาย และวิธีปฏิบัติ และเพื่อเป็นตัวกลางระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ในปัจจุบันหอการค้าอินโดนีเซีย-ไทย มีความพร้อมที่จะนำเสนอกิจกรรมให้กับพันธมิตรและสมาชิกเพื่อเป็นตัวกลางนำไปสู่โอกาสใน ค.ศ. 2015 ปีแห่งการลงทุนอินโดนีเซีย หรือ ‘2015 Go Invest Indonesia’ ”

ประธานหอการค้าอินโดนีเซีย-ไทย นางซาราสวาตี แอลลี ซันโตโซ กล่าวว่า “กิจกรรมสำคัญที่จะจัดขึ้นจัดโดยหอการค้าอินโดนีเซีย-ไทย ในปี 2558 ประกอบด้วย การสัมมนาธุรกิจกับหอการค้าอินโดนีเซีย-ไทย ในเดือนมีนาคม การจับคู่ธุรกิจของหอการค้าอินโดนีเซีย-ไทย โดยจะพานักลงทุนไทยไปเยี่ยมเยือนส่วนราชการและธุรกิจสำคัญของอินโดนีเซียในเดือนเมษายน , การแข่งขันกอล์ฟกระชับมิตรอินโดนีเซีย-ไทย ในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน นิทรรศการธุรกิจ ในช่วงปลายไตรมาสที่ 3-4 ของปี และ AEC New Gen Campในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2558”1424825961040

หอการค้าอินโดนีเซีย-ไทย ก่อตั้งในปี พ.ศ.2556 และดำเนินตามเป้าหมายในการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจระหว่างไทย-อินโดนีเซียพร้อมทั้งสร้างโอกาสในการดำเนินการจับคู่ทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ในปีนี้ จะเป็นการดำเนินงานโดยคณะกรรมการชุดใหม่ โดยการนำของประธาน นางซาราสวาตี แอลลี ซันโตโซนายเฟอร์รี่ คาโยโน่ รองประธานและดร.สุกิตเอื้อมหเจริญ เลขาธิการ

1424825952404

“อินโดนีเซียเป็นตลาดที่มีศักยภาพและมีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน โดยมีประชากรราว 250 ล้านคนหรือเกือบครึ่งหนึ่งของตลาดอาเซียน ประชาชนที่มีฐานะดีและมีกำลังซื้อสูงมีถึงประมาณร้อยละ 10-15 ของประชากรทั้งหมด อินโดนีเซียยังเป็นประเทศที่อยู่ระหว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับสูง จึงมีความต้องการสินค้า โดยเฉพาะสินค้าทุนและสินค้าอุปโภคบริโภค โดยสินค้าไทยที่มีศักยภาพ ในการแข่งขันในตลาดอินโดนีเซีย ได้แก่ ข้าว น้ำตาล ผลไม้ไทย รวมทั้งสินค้าอาหารอื่นๆ ทุกประเภท ในส่วนของธุรกิจบริการของไทยที่นับว่ามีศักยภาพและมีโอกาสในตลาดอินโดนีเซียได้แก่ธุรกิจท่องเที่ยว เราอยากเชิญชวนนักธุรกิจชาวไทยไปลงทุนในอินโดนีเซีย” ดร.สุกิต กล่าวเสริม

ATT_1424832752431_20150225_104630

ปีแห่งการลงทุนอินโดนีเซีย ภายใต้คอนเซปต์ “2015 Go Invest Indonesia” จะเป็นประตูเพื่อเปิดสู่โอกาสในการลงทุน โดยมีหอการค้าอินโดนีเซีย-ไทย เป็นหัวหอกสำคัญตลอดจนเป็นสื่อกลางให้กับนักลงทุน โดยดำเนินงานเพื่อให้ธุรกรรมต่างๆ เป็นไปอย่างง่ายดาย ทั้งในด้านการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจประเภทโรงผลิตไฟฟ้า อุตสาหกรรมเกษตร สาธารณสุข ลอจิสติกส์ และธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการค้าและการบริการ เช่น ธุรกิจประเภทอาหารแปรรูป การส่งต่อเทคโนโลยี และการขยายสาขากิจการ ในด้านการกีฬาและค่ายนักธุรกิจ และด้านการท่องเที่ยวทั้งเชิงวัฒนธรรมและเชิงประวัติศาสตร์

ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดการสมัครเป็นสมาชิกและการเข้าร่วมกิจกรรมได้ที่ Mr Arif Suyoko; Economic Attache Embassy of The Republic of Indonesia at Mobile: +66 (0) 8 6076 4860 or Email: arifsuyoko@yahoo.com, Dr Sukit Uarmahacharoen; Secretary General, Indonesia Thai Chamber of Commerce at Mobile: +66(0)9 1992 4491 or Email: drsukitti@yahoo.com and Mr Eky Kurniawan; Board of Director, Indonesia Thai Chamber of Commerce at Mobile: +66(0)904045856 or Email: eky@samudera.com

เปิดโผ เว็บไซต์ยอดฮิต รับอุตสาหกรรมอาเซียน

นายอาทิตย์ วุฒิคะโร อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (2)

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.)  เปิดโผเว็บไซต์ยอดนิยม เพื่อศึกษาข้อมูลก่อนการลงทุนในประเทศสมาชิกอาเซียน  รวบรวมเว็บไซต์แหล่งข้อมูลการลงทุน การเริ่มต้นประกอบธุรกิจ ทั้งในและต่างประเทศ เว็บไซต์ของภาครัฐที่สนับสนุนข้อมูลธุรกิจและอุตสาหกรรมเพื่อศึกษาสถานการณ์อุตสาหกรรมและการลงทุน อาทิ กระทรวงอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ สปป.ลาว, เว็บไซต์กรมการค้าและอุตสาหกรรมประเทศฟิลิปปินส์ และเว็บไซต์กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมประจำสิงคโปร์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเว็บไซต์ข่าวเพื่อการศึกษาสถานการณ์บ้านเมือง ความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจ ตลอดจนวัฒนธรรมของประเทศนั้นๆ  ทั้งนี้ อาเซียนถือเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับหนึ่งของไทย โดยสถิติการส่งออกสินค้าของไทยไปยังกลุ่มประเทศอาเซียน ปี 2557 (มกราคม –ธันวาคม) มีมูลค่าสูงถึง 1.91 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 26.11 ของตลาดส่งออกสินค้าสำคัญของไทย และยังมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าหลังจากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปลายปี 2558 นี้ จะมีผู้ประกอบการหน้าใหม่สนใจลงทุนและขยายกิจการในต่างประเทศมากขึ้นโดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคอาเซียน

นายอาทิตย์ วุฒิคะโร อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียนที่จะเริ่มขึ้นในปลายปี 2558 นี้ ทำให้ประเทศสมาชิกมีการเคลื่อนย้ายการผลิต การลงทุน แรงงานฝีมือการค้าการบริการ และเงินทุนระหว่างประเทศในกลุ่ม AECอย่างเสรีมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ อาเซียนถือเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับหนึ่งของไทย โดยสถิติการส่งออกสินค้าของไทยไปยังกลุ่มประเทศอาเซียน ปี 2557 (มกราคม –ธันวาคม) มีมูลค่าสูงถึง 1.91ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 26.11 ของตลาดส่งออกสินค้าสำคัญของไทย และยังมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง(ข้อมูล : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร)

นายอาทิตย์ กล่าวต่อว่า กสอ. ตระหนักถึงความต้องการของผู้ประกอบการที่ต้องการความสะดวกและการเข้าถึงแหล่งข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาเส้นทางการลงทุน หรือการศึกษาตลาดเบื้องต้น ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาล คือการนำดิจิทัลเข้ามาใช้เสริมสร้างศักยภาพการทำงาน ตลอดจนนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)

ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศ ให้สามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้ กสอ. มีแนวทางการเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการSMEs ตลอดจนผู้ประกอบการรายใหม่เพื่อการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) โดยการรวบรวมเว็บไซต์แหล่งข้อมูลการลงทุน การเริ่มต้นประกอบธุรกิจ ทั้งในและประเทศสมาชิกอาเซียน ทั้ง 9 ประเทศ ได้แก่

  • ประเทศมาเลเซีย หากผู้ประกอบการสนใจหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์อุตสาหกรรมของมาเลเซีย สามารถหาข้อมูลได้ที่กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ kln.gov.my ข้อมูลข่าวสารทั่วไปสามารถติดตามได้ที่ http://www.themalaysianinsider.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ข่าวชั้นนำของมาเลเซีย เพื่อติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจมาเลเซีย
  • สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ หน่วยงานที่มีหน้าที่ให้ความรู้ตลอดจนส่งเสริมการค้าและการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม อาทิ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน boi.gov.ph กรมการค้าและอุตสาหกรรม www.dti.gov.ph/dti ติดตามข่าวสารของฟิลิปปินส์ได้ที่  www.manilastandardtoday.com
  • สาธารณรัฐอินโดนีเซีย หน่วยงานที่สามารถให้คำปรึกษาด้านการต่างประเทศสำหรับผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศที่สนใจทำธุรกิจ อาทิ กระทรวงการต่างประเทศ kemlu.go.id เว็บไซต์ติดตามข่าวสารบ้านเมืองของอินโดนีเซียได้ www.thejakartapost.com
  • สาธารณรัฐสิงคโปร์ มีหน่วยงานที่จะคอยดูแลพร้อมให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ประกอบการเกี่ยวข้องกับการค้าการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมซึ่งเป็นกำลังสำคัญของประเทศ อาทิ กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม mti.gov.sg  เว็บไซต์ข่าวของสิงคโปร์ คือ www.straitstimes.com
  • เนการาบรูไนดารุสซาลาม หน่วยงานที่ประสานข้อมูลกับหน่วยงานประจำประเทศบรูไนดารุสซาลาม กับประเทศอื่นเพื่อการค้าการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมระหว่างกัน อาทิ กระทรวงอุตสาหกรรมและทรัพยากรพื้นฐาน industry.gov.bn กระทรวงการต่างประเทศและการค้าwww.mofat.gov.bn เว็บไซต์สำหรับหาข้อมูลข่าวสารของประเทศบรูไนดารุสซาลามwww.bt.com.bn/en
  • สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการค้าการลงทุน และภาคอุตสาหกรรมให้ข้อมูลเกี่ยวกับการนำเข้า-ส่งออกในอุตสาหกรรมต่าง ๆ รวมทั้งข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมของลาว อาทิ กระทรวงอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ moic.gov.la สภาการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติลาว www.laocci.com กระทรวงการค้าลาว www.laos-trade.com ข่าวสารเพื่อรับทราบความเคลื่อนไหวและเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นใน สปป.ลาว www.lao.voanews.com หรือ http://www.kpl.gov.la หรือ www.vientianetimes.org.la เป็นต้น
  • ราชอาณาจักรกัมพูชา หน่วยงานหลักสำหรับนักลงทุนที่ต้องการทราบข้อมูลข่าวสารและศึกษาสถานการณ์การค้าและการทำธุรกิจในกัมพูชา และข้อมูลการลงทุน อาทิ กระทรวงพาณิชย์moc.gov.kh คณะกรรมการการลงทุน www.cambodiainvestment.gov.kh เว็บไซต์เพื่อการศึกษาข้อมูลข่าวสารและสถานการณ์ประจำวันของกัมพูชา www.phnompenhpost.com
  • สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม มีหน่วยงานเชื่อมความสัมพันธ์ให้แก่ทั้งสองประเทศรวมถึงประเทศอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการค้าการลงทุน ตลอดจนการให้ข้อมูล และคำปรึกษาเพื่อการติดต่อธุรกิจระหว่างประเทศสถานทูตไทยในเวียดนาม thaiembassy.org/Hano เว็บไซต์ข่าวของเวียดนาม www.vietnamnews.vn และ www.en.nhandan.org.vn
  • สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ อีกหนึ่งประเทศที่น่าจับตามอง เนื่องจากเพิ่งมีการเปิดประเทศจึงเป็นที่ต้องการของนักลงทุนทั่วโลก ผู้ประกอบการไทยที่จะลงทุนในเมียนมาร์จึงต้องศึกษาข้อมูลอย่างดีเพื่อแข่งขันกับนักลงทุนจากทั่วโลกโดยสามารถศึกษาข้อมูลได้ที่ กรมการค้าการลงทุนสหภาพเมียนมาร์ investinmyanmar.com อ่านข่าวสารความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสถานการณ์ทางบ้านเมืองและเศรษฐกิจทางเว็บไซต์ข่าว www.mmtimes.com และ www.mizzima.com ของประเทศเมียนมาร์

นอกจากนี้ เว็บไซต์ของสถานทูตไทยประจำประเทศต่าง ๆ ในอาเซียน ก็เป็นหนึ่งในแหล่งข้อมูลที่สำคัญที่ผู้ประกอบการจะต้องศึกษาข้อมูลเบื้องต้นอย่างละเอียดก่อน เพื่อการลงทุนที่ตรงความต้องการของผู้บริโภคประเทศนั้นๆ ทั้งนี้ กสอ. หวังเป็นอย่างยิ่งว่า แหล่งข้อมูล ข่าวสาร เพื่อการศึกษาตลาด การค้าการลงทุน ตลอดจนการติดตามความเคลื่อนไหวของนานาประเทศในอาเซียน ที่กสอ.นำมาให้นั้นจะเป็นประโยชน์อย่างสูงสุดแก่ทั้งผู้ประกอบการรายเก่าและรายใหม่ที่สนใจเริ่มขยายตลาดสู่ประเทศเพื่อนบ้าน นายอาทิตย์ กล่าวสรุป

สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการที่ส่งเสริมสนับสนุนผู้ประกอบการให้สามารถมีธุรกิจ และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน สามารถสอบถามได้ที่ ศูนย์ธุรกิจอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) โทร. 0 2202 4426-7 เว็บไซต์ www.dip.go.th  หรือ www.facebook.com/dip.pr

เจาะตลาดอินโดนีเซีย

ตลาดอินโดนีเซีย

ติว SMEs รับเศรษฐกิจดิจิทัล

การลงนามความร่วมมือ (3)

นายอาทิตย์ วุฒิคะโร อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า ธุรกิจ SMEs เป็นกลุ่มธุรกิจที่มีบทบาทในการเสริมสร้างความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของประเทศ และจากสภาพการประกอบการและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วส่งผลให้ SMEs ไทยส่วนใหญ่มักจะประสบปัญหาด้านขาดหลักการบริหารจัดการ โดยเฉพาะ 4 องค์ประกอบหลักในการดำเนินธุรกิจ คือ การผลิต การเงินและบัญชี การตลาด และการจัดการบุคลากร ด้วยเหตุนี้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จึงริเริ่มดำเนินโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อยกระดับความสามารการแข่งขัน(Manufacturing Development to ImproveCompetitiveness Programme : MDICP) โดยในปีงบประมาณ 2558 นี้ กรมฯ มีนโยบายที่จะผนวกเนื้อหาความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Digital) และระบบซอฟท์แวร์ (Soft Ware) มาใช้ในการพัฒนา SMEs ที่เข้าร่วมโครงการสู่การเป็นกิจการ SMEs    ที่ชาญฉลาด (Intelligent SMEs) เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาล โดยเฉพาะการบริหารจัดการคลังสินค้าและการตลาด ที่มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภาพของ SMEs โดยอาศัยกระบวนการให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาควบคู่กับการพัฒนาและชี้นำให้ SMEs สามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศ (Digital) และระบบซอฟท์แวร์ (SoftWare) ไปประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดการพัฒนาผลิตภาพอย่างยั่งยืนโดยสอดแทรกเนื้อหาดังกล่าวผ่าน 8 แผนงาน ดังนี้

  1. แผนงานการพัฒนาและปรับปรุงการผลิต
  2. แผนงานยกระดับการบริหารจัดการองค์กรให้เป็นระบบมาตรฐานสากล
  3. แผนงานเพิ่มความสามารถและการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีนำไปสู่นวัตกรรมฯ
  4. แผนงานเสริมสร้างความสามารถทางการบริหารการเงินและการลงทุน
  5. แผนงานเพิ่มสมรรถนะและการจัดการเชิงกลยุทธ์และการตลาด การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การพัฒนาช่องทางการขายในรูปแบบดิจิทัล (E-Marketing)
  6. แผนงานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์หรือการบริหารทุนบุคลากร
  7. แผนงานการพัฒนาองค์กรด้านการจัดการความรู้หัวข้อในการให้คำปรึกษาแนะนำ
  8. แผนงานการพัฒนาและปรับปรุงระบบโซ่อุปทาน

โดยมีหัวข้อในการให้คำปรึกษาแนะนำที่น่าสนใจ อาทิ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยในกระบวนการผลิต การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการจัดทำระบบมาตรฐาน การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสู่นวัตกรรมการพัฒนาช่องทางการขายรูปแบบดิจิทัล และการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการองค์ความรู้ (KM) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ทั้ง 8 แผนงานจะมีคณะที่ปรึกษาที่มีความรู้และประสบการณ์การทำงานเฉพาะทาง มีห้องทดลองและอุปกรณ์เครื่องมือเพื่อทำการทดลองวิจัยในการพัฒนากระบวนการทำงานที่ได้รับการรับรอง โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มาเป็นผู้ดำเนินการให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกและฝึกอบรมในสถานประกอบการ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการทั้ง 20 กิจการที่เข้าร่วมโครงการสามารถเลือกรับบริการ 4 แผนงาน จาก 8 แผนงานหลักข้างต้น

นายอาทิตย์ กล่าวต่อว่า สำหรับโครงการ MDICP เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2542 และดำเนินมาอย่างต่อเนื่องเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตของไทยให้เข้าสู่ระบบการค้าสากล และสามารถสร้างสมรรถนะในการแข่งขันได้อย่างยั่งยืน โดยอาศัยกระบวนการปรับโครงสร้างการบริหารจัดการธุรกิจทั้งระบบให้เกิดการพัฒนาอย่างเชื่อมโยงกัน ตลอดจนเพื่อพัฒนา SMEs ไทยให้มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสู่การพัฒนาธุรกิจ ทั้งนี้ สำหรับผลการดำเนินงานโครงการที่ผ่านมาตลอดระยะเวลา 17 ปี โครงการ MDICP มีสถานประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม     ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค รวมทั้งสิ้น 789 กิจการ ซึ่งสามารถสร้างมูลค่าให้แก่เศรษฐกิจของประเทศโดยรวม   ไม่น้อยกว่า 41,980.97 ล้านบาท โดยเฉพาะในปีงบประมาณ 2557 (รุ่นที่ 17) โครงการดังกล่าวสามารถสร้างผลลัพธ์การพัฒนาสถานประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 49 กิจการ ได้ดังนี้ ยอดขายเพิ่มขึ้น    356 ล้านบาท ลดของเสีย 22 ล้านบาท เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตภัณฑ์ 101.31 ล้านบาท เกิดการลงทุนเพิ่มขึ้น 82.72 ล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มผลิตภาพรวม (Productivity) 592.7 ล้านบาท (ณ เดือนสิงหาคม 2557 )

ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2558 นี้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยสำนักพัฒนาการจัดการอุตสาหกรรม   มีเป้าหมายที่จะพัฒนาสถานประกอบการภายใต้โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อยกระดับความสามารถ   การแข่งขัน จำนวน 48 กิจการ แยกเป็นสถานประกอบการในภูมิภาค จำนวน 28 กิจการ ดำเนินการโดยศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1-11 และในส่วนกลาง (พื้นที่กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี)   จำนวน 20 กิจการ ซึ่งกำหนดจัดพิธีเปิดและลงนามข้อตกลงความร่วมมือระหว่างโครงการ MDICP และผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการในส่วนกลางจำนวน 20 กิจการ อย่างไรก็ตาม คาดว่าวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เข้าร่วมโครงการร้อยละ 65 จะมีผลิตภาพเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ ลดต้นทุนร้อยละ 6 และลดของเสียร้อยละ 3 หรือมูลค่ายอดขายเพิ่มขึ้น ร้อยละ 9 นายอาทิตย์ กล่าวสรุป

สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมโครงการ MDICP หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักพัฒนา การจัดการอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โทรศัพท์ 0 2202 4546, 0 2200 4526 โทรสาร 0-2354-3426 หรือ E-mail : mdicp@yahoo.com หรือเว็บไซต์  www.mdicp.com

กสอ. ผนึก 2 หน่วยงาน ดันดีไซเนอร์ไทยสู่แฟชั่นโลก 2015-2016

นิทรรศการผ้าผืนไทย3

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ และสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) ผนึกกำลังยกระดับอุตสาหกรรมผ้าไทย เพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรมแฟชั่น สู่เป้าหมายประเทศชั้นนำของโลกด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอครบวงจร  พร้อมจัดงาน “แฟชั่น แฟบริค เน็ตเวิร์ก 2014” (Fashion Fabric Network 2014) งานแสดงผ้าผืนครั้งแรกในประเทศไทย ภายใต้โครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมแฟชั่นไทย หวังเทียบชั้นงานแสดงผ้าผืนระดับโลก พรีเมียร์ วิช๊อง (Premiere Vision) ของฝรั่งเศส เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตผ้าผืนให้เชื่อมโยงความต้องการของผู้ผลิตเสื้อผ้าแฟชั่นแบรนด์ชั้นนำในประเทศได้ โดยไม่ต้องนำเข้าผ้าผืนจากต่างประเทศ ตั้งเป้ายกระดับอุตสาหกรรมแฟชั่นไทยสู่ศูนย์รวมการออกแบบแฟชั่นของอาเซียน โดยงานดังกล่าว ประกอบด้วย กิจกรรมต่างๆ ได้แก่ โซนจัดแสดงผ้าผืนของผู้เข้าร่วมโครงการ  โซนนิทรรศการผ้าผืนสำหรับ Autumn 2015 / Winter 2016 โซนสัมมนาให้ความรู้เกี่ยวกับเทรนด์แฟชั่น และโซน เจรจาธุรกิจ โดยมีแบรนด์แฟชั่นชั้นนำเข้าร่วมงานจำนวนมาก อาทิ ดีเอพีพี (DA+PP)เกรย์ฮาว (Greyhound) อิชชู(Issue) ยัสปาล (Jaspal) บลู คอนเนอร์ ซึ่งคาดว่างานดังกล่าวจะสามารถสร้างภาพลักษณ์ของอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยให้ทั่วโลกทราบว่าประเทศไทยสามารถผลิตได้ครบวงจรและสนองต่อความต้องการลูกค้าได้ครบถ้วน โดยงานจัดขึ้นตั้งแต่วันนี้ถึง 21 พฤศจิกายน 2557 ณ ห้องแกลอรี่ 2 ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (Thailand Creative & Design Center – TCDC)

นิทรรศการผ้าผืนไทย1

นายประดิษฐ์ รัตนวิจิตราศิลป์ รองผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ กล่าวว่า อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของไทย เนื่องจากก่อให้เกิดการจ้างงาน และสร้างรายได้เข้าประเทศต่อปีจำนวนมาก โดยเฉพาะผ้าผืน ที่มีมูลค่าการส่งออกกว่า 1,118.62 ล้านเหรียญสหรัฐ (ม.ค. – ก.ย. 57) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 19.60 ของตลาดส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทย โดยตลาดส่งออกผ้าผืนหลักของไทย ได้แก่ จีน เวียดนาม ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม แม้มูลค่าการส่งออกผ้าผืนของไทยจะมีมูลค่าสูง แต่หากในระดับโลกแล้ว ในปี 2556 ไทยมีส่วนแบ่งการตลาดเพียงร้อยละ 1.42 เท่านั้น (ที่มา :สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ และ Trade Map, 2013) ซึ่งผ้าผืนของไทยที่ส่งออกมักนำไปใช้ผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปที่คุณภาพไม่สูง อีกทั้งความต้องการใช้ผ้าผืนเพื่อการผลิตและแปรรูปเป็นเสื้อผ้าแฟชั่นภายในประเทศกลับยังไม่มากเท่าที่ควร ขณะที่ปัจจุบันมีแบรนด์เสื้อผ้าแฟชั่นใหม่ๆ จากดีไซเนอร์ฝีมือดีในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่อุตสาหกรรมผ้าผืนของไทยกลับไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของดีไซเนอร์ได้ ผ้าผืนไทยจึงมักไม่ถูกเลือกให้เป็นส่วนหนึ่งของเสื้อผ้าแฟชั่นจากแบรนด์ชั้นนำ ทั้งนี้ ผ้าผืนไทยยังคงประสบปัญหาในหลายด้าน ตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตผ้าผืนในไทยยังคงผลิตตามความต้องการของตนเองเป็นหลัก มิได้คำนึงถึงเทรนด์แฟชั่น หรือความต้องการของตลาด อีกทั้งเส้นใยในการผลิตผ้าผืนมีความหลากหลายน้อย ขาดการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมถึงความเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรมต้นน้ำถึงปลายน้ำยังไม่เข้มแข็งเท่าที่ควร และการทำตลาดเชิงรุกยังไม่เพียงพอ ด้วยเหตุนี้ดีไซเนอร์ส่วนใหญ่จึงเลือกนำเข้าผ้าจากต่างประเทศที่มีคุณภาพและตอบโจทย์ความต้องการตามเทรนด์ได้มาใช้ในการผลิตสินค้าแฟชั่นมากกว่า

คุณประดิษฐ์

นายประดิษฐ์ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการพัฒนาและยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการผ้าผืนของไทย สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ รวมถึงการพัฒนาและวิจัยเพื่อการเพิ่มมูลค่าและยกระดับสิ่งทอไทย สู่เป้าหมายประเทศชั้นนำของโลกด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอครบวงจร  จึงเดินหน้าพัฒนาโครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมแฟชั่นไทยจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เพื่อให้บุคลากรในอุตสาหกรรมแฟชั่นมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของแนวโน้มแฟชั่น (Fashion Trend) และสามารถประยุกต์ในการผลิตสินค้าแฟชั่นให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของรูปแบบแฟชั่นที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทผ้าผืนจะได้รับการคัดเลือกโดยใช้เกณฑ์ด้านความพร้อมของบุคลากร ประสบการณ์ในการทำการตลาด ความพร้อมด้านงบประมาณด้านการพัฒนาและการตลาด 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การเผยแพร่ผ้าผืน Highlight ไปยังกลุ่มเป้าหมาย 2,000 คนผ่าน E-bulletin 2. นำเสนอและเจรจากับลูกค้าเครือข่ายธุรกิจ  4 กลุ่ม ได้แก่ การออกแบบและใช้เทคโนโลยีการพิมพ์แบบใหม่ เสื้อผ้าสำหรับสุภาพบุรุษ สตรี และชุดกีฬา 3. ร่วมประชุมความร่วมมือกับผู้ประกอบการแบรนด์แฟชั่นขนาดใหญ่ 4. ร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) กับผู้บริหารแบรนด์แฟชั่น ผู้ผลิตเครื่องนุ่งห่ม และผู้เชี่ยวชาญ และ 5. พัฒนาผ้าผืนให้สอดคล้องกับเทรนด์ Autumn 2015และ Winter 2016

นิทรรศการผ้าผืนไทย4

นอกจากนี้ ผู้ประกอบการที่ผ่านการเข้าร่วมทุกขั้นตอนของโครงการฯ จะได้รับโอกาสในการนำผ้าผืนที่ได้รับการพัฒนาแล้วมาจัดแสดงในงาน แฟชั่น แฟบริค เน็ตเวิร์ก 2014 (Fashion Fabric Network 2014) งานแสดงผ้าผืนแฟชั่นและเจรจาธุรกิจ ปี 2557 ซึ่งเป็นการจัดแสดงผ้าผืนครั้งแรกในประเทศไทย ที่สถาบันฯสิ่งทอ กับสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) ร่วมกันจัดขึ้น โดยได้แรงบันดาลใจจากงานพรีเมียร์ วิช๊อง (Premiere Vision) ของฝรั่งเศส ซึ่งเป็นงานแสดงผ้าผืนระดับโลก  โดยมุ่งหวังที่จะสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ระหว่างผู้ผลิตผ้าผืน ผู้ผลิตเครื่องนุ่งห่ม และแบรนด์เสื้อผ้าแฟชั่น ตลอดจนสร้างภาพลักษณ์ของอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยให้ทั่วโลกทราบว่าประเทศไทยสามารถผลิตได้ครบวงจรและสนองต่อความต้องการลูกค้าได้ครบถ้วนทั้งด้านการผลิต การออกแบบและการบริการ นอกจากนี้ ยังสามารถลดการพึ่งพาวัตถุดิบผ้าผืนที่ทันสมัยจากต่างประเทศ โดยการสร้างมาตรฐานและมูลค่าเพิ่มให้แก่ผ้าผืนไทยเพื่อตอบโจทย์เทรนด์ในตลาดโลก ตั้งเป้ายกระดับอุตสาหกรรมแฟชั่นไทยสู่ศูนย์รวมการออกแบบแฟชั่นของอาเซียน สำหรับกิจกรรมภายในงานจะประกอบไปด้วย 4 ส่วนหลัก  ได้แก่

  1. Fabric Exhibition : ส่วนแสดงผ้าผืนคอลเลคชั่นใหม่สำหรับ เสื้อผ้าธุรกิจ เสื้อผ้าธุรกิจ ลำลอง ยีนส์ เดรส และดิจิทัลพริ้นท์ จาก 50 ผู้ประกอบการ ผ่านการคัดเลือกจากโครงการดังกล่าวแล้ว
  2. Trend Forum :  ชมนิทรรศการการออกแบบผ้าผืนสำหรับฤดูกาล Autumn / Winter 2015/16 ภายใต้แนวคิด แรงบันดาลใจที่จับต้องได้
  3. Trend Seminar : งานสัมมนาเทรนด์ผ้าผืนและการปรับใช้ในสินค้าแฟชั่น SS2015 และ AW2015/16 โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการคัดสรรผ้าผืนให้เหมาะกับเทรนด์ต่างๆ
  4. Business Networking : การเจรจาธุรกิจเฉพาะกลุ่ม ตามประเภทของสินค้าแฟชั่น อาทิ New Printing Technology, Menswear Fabric, Active Sport Technology

นายประดิษฐ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับเทรนด์สิ่งทอ  Autumn 2015/ Winter 2016 ที่กำลังได้รับความสนใจของดีไซเนอร์ทั่วโลกนั้น มีลักษณะพิเศษที่รูปลักษณ์ที่เห็นกับลักษณะการสัมผัสอาจขัดแย้งกันสิ้นเชิง เช่น ผ้าที่มีลักษณะคล้ายโลหะ แต่เมื่อสัมผัสกลับมีความอ่อนนุ่ม และน้ำหนักเบามาก รวมไปถึงผ้าที่มีการใช้วัสดุเทคโนโลยีขั้นสูงผลิตให้มีลักษณะเป็นงานฝีมือ หรือผ้าลายทอโบราณที่ตกแต่งด้วยลวดลายสลับซ้อนหลายชั้นจนดูหนาแต่กลับมีน้ำหนักเบา หรือผ้าที่คุณสมบัติด้านเทคนิคซ่อนอยู่สามารถสร้างความรู้สึกร่วมของการสัมผัสและการเห็น เช่น ผ้าขนสัตว์ ที่มีความละเอียดเนียนนุ่ม ใส่สบาย มีความเงางาม หากแต่แฝงไปด้วยความหรูหรา ทั้งนี้ โทนสีที่นิยมในฤดูกาลนี้ ได้แก่ คลาสสิค (Classic) ซึ่งมักเป็นกลุ่มโทนสี นู้ด (Nude)  และ เอิร์ธโทน (Earth Tone) เช่น สีน้ำตาล สีเทา อย่างไรก็ตาม การออกแบบตัดเย็บเสื้อผ้าแฟชั่นสำเร็จรูปจำเป็นต้องคำนึงถึงคือเทรนด์แฟชั่นในฤดูกาลถัดไป ดังนั้น ผู้ผลิตผ้าผืนจะต้องปรับตัวให้ทันกับกระแสแฟชั่นด้วยการผลิตผ้าผืนซึ่งเป็นวัตถุดิบของเสื้อผ้าแฟชั่นให้สอดคล้องกับเทรนด์แฟชั่นด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ดี กิจกรรมดังกล่าวยังได้รับความร่วมมือจากดีไซเนอร์แบรนด์เสื้อผ้าชั้นนำของเมืองไทยมาเลือกซื้อเพื่อนำไปออกแบบและผลิตเสื้อผ้าภายใต้แบรนด์นั้นๆ อาทิ ดีเอพีพี (DA+PP) เกรย์ฮาว (Greyhound) ดิษยา (Disaya) โคลเซ็ท (Kloset) อิชชู(Issue) รวมทั้งแบรนด์ต่างชาติที่เป็นที่นิยมในประเทศ อาทิ ยัสปาล (Jaspal) บลู คอนเนอร์ (Blue Corner) และเอฟ แอนด์ เอฟ (F&F) เป็นต้น ซึ่งหากโครงการนี้ได้รับการตอบรับจากแบรนด์เสื้อผ้าของไทยด้วยดี คาดว่ามีโอกาสขยายกลุ่มเป้าหมายจากสินค้าระดับสตรีทมาร์เก็ต (Street Market)  และไฮสตรีทมาร์เก็ต (High Street Market) ไปสู่ระดับสู่ระดับบน (High End Market) ได้ในอนาคต ทั้งนี้ งาน แฟชั่น แฟบริค เน็ตเวิร์ก 2014 จัดขึ้นตั้งแต่วันนี้ถึง 21 พฤศจิกายน 2557 ณ ห้องแกลอรี่ 2 ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (Thailand Creative & Design Center – TCDC) คาดว่าจะมีดีไซเนอร์ นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจงานด้านแฟชั่น เข้าร่วมงานไม่ต่ำกว่า 1,500 คน นายประดิษฐ์ กล่าวสรุป

สำหรับผู้ประกอบการ และนักออกแบบ ตลอดจนประชาชนทั่วไปที่สนใจ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ฝ่ายพัฒนาพื้นฐานธุรกิจ มธ.ศูนย์รังสิต คลองหลวง ปทุมธานี โทรศัพท์ 02-564-4000 ต่อ 2012,2015, 082-450-2626, 082-450-2623 ติดต่อคุณสุกัญญา หรือ คุณพนิดา หรือสอบถามที่ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ฝ่ายข้อมูลสิ่งทอ  ซอยตรีมิตร ถนนพระราม 4  กรุงเทพฯ  โทรศัพท์ 0 2713 5492 – 9 ต่อ740, 790, 732 ติดต่อ คุณทรรศนีย์ คุณรัฐพล คุณณัฐวดี หรือเข้าไปที่ เว็บไซต์ www.thaitextile.org//ffn2014

Fact Sheet สถานการณ์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ม.ค.-ก.ย. 2557

เปิดประตูเศรษฐี SMEs ไทย

DSCF4042

วันนี้ (13 พย.57) ได้มีโอกาสไปฟังสัมมนา “เปิดประตูเศรษฐี SMEs ไทย” ในวาระครบรอบ 20 ปี นิตยสาร เส้นทางเศรษฐี โดยช่วงเช้า มีปาฐกถาพิเศษ จากท่านรองนายกรัฐมนตรี ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล โดยได้กล่าวถึงสถานการณ์ SMEs เมืองไทยที่จำเป็นจะต้องปรับตัวเข้ากับยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยรัฐบาลมีแนวนโยบายที่จะส่งเสริมเรื่องของการทำศูนย์ข้อมูลส่วนกลาง  (DATA CENTER) ที่เป็นประโยชน์และสนับสนุนองค์ความรู้

อย่างไรก็ตาม การพัฒนาของ SMES ต้องขึ้นอยู่กับ “ความปราถนา” ที่อยากจะเติบโตด้วย ภาครัฐฯ มีหน้าที่ทำ “ระบบ” ที่จะทำให้โต ออกแบบให้พร้อมใช้งาน และดีที่สุดของการเติบโตก็คือ “ควรเริ่มต้นทีละก้าว” โดยก้าวแรกควรสะสมความรู้จนเข้าใจทางเดิน ก้าวที่สองก็ต้องลองเดินเข้าไป ถ้าได้ผลก็ค่อยต่อยอดขยายกิจการเป็นก้าวที่สาม ซึ่งถ้าจำเป็นต้องการเงินทุนก็จะทำให้กู้ง่ายขึ้นด้วยเพราะมีประสบการณ์ทำงานมาก่อน

DSCF4022

ในตอนท้าย รองนายกรัฐมนตรี ได้อ้างอิงถึงเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ ว่าธุรกิจจะโตต้องให้ความสำคัญกับ ปัจจัย 4 ประการดังต่อไปนี้

1. ลูกน้อง ต้องได้รับผลตอบแทนพอสมควรกับสิ่งที่เขาทำให้กับเรา

2.ลูกค้า ต้องหาวิธีสร้างความพอใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคุณภาพสินค้า หรือราคาที่เขาต้องรู้สึก “คุ้มค่า” กับสิ่งที่ต้องจ่าย

3. สังคมและสิ่งแวดล้อม องค์กรธุรกิจควรให้ความสำคัญกับชุมชนที่ตั้งอยู่ ยกตัวอย่าง ธุรกิจรายหนึ่งที่ลำปาง เมื่อเห็นว่าเด็กขาดแคลนโรงเรียน เขาเอางบประมาณมาจ้างครู ทำโรงเรียนเปิดสอนในชุมชน เป็น SMEs ที่สร้างความสุขดีกว่า เติบโตอยู่คนเดียว

4. ไม่เอาเปรียบตัวเอง ต้องทำให้ตัวเองอยู่ได้ด้วย ทั้งสี่อย่างเหล่านี้ อ.คึกฤทธิ์ ปราโมชใช้สามคำว่า “ไม่เบียดเบียน” (ลูกน้อง, ลูกค้า,สังคม,ตัวเอง)

ปิดท้าย ม.ร.ว.ปริดิยาธร บอกว่า SMEs ที่ทำให้ลูกค้ารัก จะเติบโตเอง ในส่วนของรัฐบาลทำหน้าที่เพียงส่งเสริมระบบไอทีให้พวกเขาเลือกใช้เท่านั้น…

DSCF4053

ต่อมาเป็นการเสวนา “SMEs กับความมั่นคงรากฐานเศรษฐกิจไทย” โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วยคุณโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฏ์ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), คุณอาทิตย์ วุฒิคะโร อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคุณสุพันธุุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

DSCF4049

คุณโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฏ์ อธิบายถึงแนวทางการเริ่มต้นธุรกิจ SMEs ก่อนว่า ผู้ประกอบการจะต้องมีความถนัด ความสามารถในการจัดการเริ่องของต้นทุน, คุณภาพ และบริการ เมื่อเข้าใจแล้วก็ต้องเขียนเป็นแผนธุรกิจให้ชัดเจน ประการสุดท้ายต้องมี “วินัย” ทางด้านการเงิน

“ทุกวันนี้ โจทย์ของ SMEs ยากกว่าเมื่อ 4-5 ปีก่อนมาก สมัยก่อนราคายางตันละร้อยกว่าบาท, มีประชานิยม เดี๋ยวนี้ราคายางร่วงเหลือไม่ถึงห้าสิบบาท แถมหนี้ครัวเรือนที่พอกมาอีก ดังนั้น ต้องสร้างมูลค่าเพิ่ม ด้วยการปรับตัวไปสู่เรื่องของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประการที่สองคือนำคู่แข่งขันมาร่วมมือสร้างเป็นคลัสเตอร์ให้ได้ ช่วยกันหาลูกค้าเพิ่มรายได้ หรือรวมกันซื้อวัตถุดิบเพื่อลดรายจ่าย ประการที่สาม เรื่องการจัดการคน ผู้บริหารหลายคนอายุมากอาจมีปัญหาเรื่องพวกนี้ บางธุรกิจที่มีทายาทรับช่วงต่อได้ก็จะเกิดปัญหาน้อย เพราะคนที่มีอายุแล้วอาจคิดว่ามีความสุขกับการไม่ขยาย (กิจการ) ถ้าขยายแล้วอาจเดือดร้อน สุดท้ายคือเรื่องของการตลาด ที่จะต้องปรับให้เข้ากับความถนัดและลักษณะของกิจการตัวเอง”

DSCF4093

ด้านคุณอาทิตย์ วุฒิคะโร  อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่าตนคลุกคลีกับ SMEs มาเกือบสามสิบปี จนรวบรวมคุณสมบัติของผู้ประกอบการที่ดีได้ถึง 19 ข้อ  (ขอย่อเหลือ 5นะ)

1. ต้องมีความกล้าเสี่ยงในระดับปานกลาง

2. ความมุ่งหมายกระหายความสำเร็จ

3. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

4.ความผูกพันต่อเป้าหมายที่ตั้งไว้

5.ความสามารถโน้มน้าวจิตใจของผู้อื่น ฯลฯ

DSCF4075

ผู้ประกอบการ SMEs ควรวิเคราะห์บุคลิกของตัวเองให้ได้ว่าอะไรมีมากหรือน้อย สิ่งที่มีมากก็ต้องรู้จักใช้ให้เกิดประโยชน์ สิ่งไหนมีน้อยหรือขาดไป (แต่ต้องมี) ก็ควรจะแสวงหามาเติม ซึ่งในส่วนของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมีหลายโครงการที่จะสนับสนุนที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ และค่าใช้จ่ายบางส่วนให้อยู่แล้ว

DSCF4102

ด้านสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย อธิบายปัญหาของ SMEs ว่าหลักๆ คงไม่พ้นเรื่องของการตลาด ทำอย่างไรจึงจะขายของได้ ซึ่งทางสภาอุตสาหกรรมได้มีการขอความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น เช่น ธนาคาร จัดบู๊ทเพื่อเป็นช่องทางจำหน่าย หรือในยุคที่ไอทีเป็นสิ่งจำเป็นก็มีการสนับสนุนเรื่องของอีคอมเมิร์ช ให้กับสมาชิกอยู่แล้ว อีกเรื่องคือ “ต้นทุน” ที่ต้องบริหารจัดการให้ได้ โดยเฉพาะเรื่อง “ค่าแรง 300 บาท” ที่มีผลกระทบต่อธุรกิจเล็กๆ

“เรื่องของธุรกิจบางครั้งก็ขึ้นอยู่กับ จังหวะและโอกาส สิ่งสำคัญคือวิธีคิดของผู้ประกอบการ อย่างธุรกิจประเภทSunrise (ดาวรุ่ง) คนมักแห่ทำตามๆกัน แข่งขันกันสูง อาจจะเจ๊งก็ได้ ในทางตรงข้าม ธุรกิจประเภท Sunset (ดาวร่วง) มีคู่แข่งน้อยกว่า อาจจะกลายเป็นเจ้าตลาดมีรายได้มากกว่าก็ได้ยกตัวอย่างเครื่องพิมพ์แบบดอท ที่ตอนนี้เหลืออยู่เจ้าเดียวแล้ว เป็นต้น”

นอกจากนี้เรื่องทรัพย์สินทางปัญญาก็เป็นสิ่งสำคัญ หน่วยงานรัฐจะต้องอำนวยความสะดวกให้ภาคเอกชนมากกว่านี้ ดูอย่าง อิสราเอล แทบไม่รู้ว่าเขาขายสินค้าอะไร เพราะเขาขาย IP หรือสิทธิบัตรให้ประเทศอื่นๆ ไปผลิตเป็นของ ถ้าลองอิสราเอลผลิตสินค้าเอง มีอาหรับในโลกเป็นพันล้่าน….ใครจะซื้อ !?

เชิญชวนออกบู๊ทขายที่จีน วันตรุษจีน

Chinese New Year Shopping Festival คืองานแสดงสินค้านานาชาติที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในช่วงเทศกาลตรุษจีน จัดขึ้น ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยการจัดงานครั้งล่าสุดซึ่งเป็นครั้งที่ 18 มีผู้ประกอบการมากกว่า 4,000 บริษัทจาก 47 ประเทศทั่วโลกเข้าร่วมงานบนพื้นที่กว่า 90,000 ตารางเมตร และมีผู้ซื้อชาวจีนเข้าร่วมเจรจาธุรกิจมากกว่า 20,000 คน อีกทั้งมีประชาชนทั่วไปเข้าร่วมชมกว่าเกือบ 3 ล้านคน กิจกรรรมสำคัญในงานได้แก่ การประชุมทางการค้าระหว่างผู้ประกอบการจีนกับตัวแทนผู้ซื้อจากนานาชาติ อาทิ เช่น ประเทศเกาหลี, ญี่ปุ่น, ฟิลิปปินส์, สหรัฐอเมริกา , ฝรั่งเศส และนิวซีแลนด์ โดยมียอดขายโดยรวมถึง 1 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ยังมีกิจกรรมส่งเสริมการค้าในกลุ่มสินค้า 16 รายการ นำไปสู่ยอดขายเพิ่มมากขึ้นกว่า 1 หมื่นล้านบาท และตลอดเวลาการจัดงานมีการใช้สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์มากกว่า 80 ช่องทางทั้งในประเทศจีนและสื่ออื่นๆทั่วโลก สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ร่วมออกงานแสดงสินค้าและผู้เข้าร่วมชมงานเป็นอย่างดี

สำหรับการจัดงานครั้งที่ 19 ในปีนี้ ภายใต้ชื่อว่า  The 19th Chinese New Year Shopping Festival and International Food with Home Fashion Products Trade Fair จะเป็นการรวบรวมสินค้าอุปโภคบริโภคที่หลากหลายกว่า 100,000 รายการ อาทิ สินค้าด้านแฟชั่น ความงานของผู้หญิง สินค้าเด็ก อาหารและเครื่องดื่ม งานศิลปหัตถกรรม งานฝีมือ เครื่องประดับและอัญมณี เครื่องใช้ภายในบ้านสินค้าเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่ง จากหลากหลายประเทศ เช่น ประเทศจีน ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ไทย และสหรัฐอเมริกา นี่จึงเป็นโอกาสทางการค้าครั้งสำคัญอีกครั้งที่ท่านจะได้เข้าร่วมในงานยิ่งใหญ่ระดับเอเชีย

e-letter china jpg

สัมมนาเรื่อง “เปดขุมทรัพยใหมเจาะตลาดใหญการคาจีน”
วันจันทรที่17 พฤศจิกายน 257 เวลา 13.0-16.30 น. ณ หองสัมนา 904 ชั้น 9 อาคารวิทยบริการ ประตูงามวงศวาน 1
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร บางเขน

******************************************************************

13.00– 13.30 น. ลงทะเบียน
13.30 – 13.40 น. กลาวเปดงานหมูบานไทย (Thai Pavilon) ณ นครเฉิงตู มณฑลเสฉวน
สาธารณรัฐประชาชนจีน และเปดงานสัมนา
โดย วาที่รต.กิติพันธ มูลศรีชัย นายกสมาคมผูสงอกและผูลิตไทย
13.40 – 13.50 น. รวมถายภาพหมูประธานเปดงาน วิทยากร และคณะผูบริหาร
บริษัท เวกา อินเตอรเทรด แอนด เอ็กซิบชั่น จํากัด
13.50 – 14.30 น. บรยายพิเศษเรื่อง “เฉิงตู มณฑลเสฉวน อนาคตทางการคาในสาธารณรัฐประชาชนจีน”
โดย ดร.การุณ หลี่อาจารยประจําคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอม
สถาบันพัฒนบัณฑิตบริหารศาสตร(นิดา)
14.30 – 15.10 น. แนะนําโครงการ พาผูประกอบการไทยเจาะลึกตลาดจีน
ผูนําเศรษฐกิจโลกในศตวรษที่21 “เปดขุมทรัพยใหมในแดนมังกร ณ นครเฉิงตู มณฑลเสฉวน”
โดย คุณนัทภัค ธชพวงมาลี ที่ปรึกษาสมาคมผูสงอกและผูลิตไทย
15.10 – 15.30 น. พักรับประทานอาหารวาง/น้ําชา กาแฟ
15.30 – 16.10 น. บรยายพิเศษ เรื่อง “เจาะจีนทุกมิต”
และเรื่อง“คาถาคาขายสินคาไทย ไดกําไรและความสําเร็จ”
โดย คุณไกรสินธุ วงศสุรไกร เลขาธิการสภาธุรกิจไทย-จีน

************************************************************************

ตัวแทนจำหน่ายพื้นที่

Vega Intertrade and Exhibitions LLCคือผู้จัดงานแสดงสินค้าเต็มรูปแบบในต่างประเทศ รวมถึงให้บริการนำผู้ประกอบการสินค้าไทยเข้าร่วมงานแสดงสินค้าที่คัดสรรแล้วว่ายิ่งใหญ่ และมีศักยภาพที่สุดในภูมิภาคตะวันออกกลาง และตลาดใหม่ของโลก จากประสบการณ์ที่ผ่านมา เราสามารถผลักดันการทำธุรกิจส่งออกของไทยผ่านง่านแสดงสินค้าคุณภาพระดับโลก

สำนักงานกรุงเทพฯ:919 ซ.อ่อนนุช 39 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวงกทม.10250

โทรศัพท์ : คุณวริษฐา089-459-1442   E-Mail :   project@vegainter.com / คุณปารย์087-982-7775     E-Mail :   parn@vegainter.com

กสอ.ลุยตลาดอาหารฮาลาลโลก

นายอาทิตย์ วุฒิคะโร อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

กรุงเทพฯ 3 พฤศจิกายน  2557 – กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เดินหน้าขยายฐานอุตสาหกรรมอาหารไทย ตั้งเป้านำร่องพัฒนาผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล 150 ราย บุกตลาดอาเซียน ผ่าน 4 กลยุทธ์ ได้แก่ 1.เร่งให้ความรู้มาตรฐานอาหารฮาลาล 2. ขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ 3. สร้างโอกาสและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ผ่านกิจกรรม Business Networking และ 4.สร้างฐานข้อมูลอุตสาหกรรมอาหารในตลาดอาเซียนและตลาดมุสลิมอื่นๆ ทั้งนี้กลุ่มอาหารฮาลาลของไทยที่มีโอกาสเติบโต อาทิ ข้าวและน้ำตาลทราย ผักและผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง อาหารพร้อมปรุงหรือสำเร็จรูป รวมถึงอาหารฮาลาลอินทรีย์  ฯลฯ โดยปัจจุบัน ตลาดมุสลิมเป็นตลาดใหญ่ด้วยประชากรชาวมุสลิมกว่า 1,600 ล้านคนทั่วโลก เฉพาะในอาเซียนมีถึง 300 ล้านคน รัฐบาลจึงเน้นพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลเพื่อการส่งออก โดยมุ่งพัฒนาด้านการผลิต การตลาด ตลอดจนการขอรับมาตรฐานเพื่อให้เป็นที่น่าเชื่อถือและยอมรับของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้ กรมฯ ร่วมกับ My Outlets PTE Ltd., ผู้ผลิต จัดจำหน่าย และนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลจากประเทศสิงคโปร์และจีน  จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมฮาลาล ในหัวข้อ “พัฒนาศักยภาพและสร้างมูลค่าเพิ่มอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล” พร้อมเจรจาจับคู่ธุรกิจ เพื่อเชื่อมโยงธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลของกลุ่มประเทศอาเซียนให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs และ OTOP โดยภายในงานจะมีการบรรยายประเด็นต่างๆ จากผู้เชี่ยวชาญหลายด้าน อาทิ ความสำคัญของมาตรฐานอาหารฮาลาล และวิธีบริหารจัดการอาหารฮาลาล ตลอดจนแนวทางการส่งออกอาหารฮาลาลไทยสู่อาเซียนและตลาดโลก ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงสินค้า เพื่อโชว์ศักยภาพพร้อมสร้างเครือข่ายและเจรจาเชื่อมโยงธุรกิจอุตสาหกรรม (Business Matching) ในกลุ่มประเทศอาเซียนอีกด้วย

ภาพหมุ่ผุ้ประกอบการ

นายอาทิตย์ วุฒิคะโร อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กล่าวว่า อุตสาหกรรมอาหารและการแปรรูปอาหารของไทยมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างมาก สามารถสร้างรายได้ให้แก่ประเทศมหาศาล แต่จากสภาวะปัจจุบันที่อุตสาหกรรมอาหารในตลาดโลกมีการแข่งขันสูงขึ้น ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องปรับตัวและพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสามารถแข่งขันได้ในระดับนานาประเทศ อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ก็เป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมอาหารไทยที่สำคัญ มีปริมาณการส่งออกไปยังประเทศกลุ่มมุสลิม (Organization of Islamic Cooperation : OIC) กว่า 5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี (ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ) มีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 4.72 ต่อปี ซึ่งยังเป็นปริมาณที่น้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรชาวมุสลิมที่มีกว่า 1,600 ล้านคน ทั้งนี้ประเทศที่มีการส่งออกอาหารฮาลาลไปยังกลุ่มประเทศมุสลิมและมีส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุด ได้แก่  บราซิล  (สัดส่วนร้อยละ 12.39)  รองลงมาคือ สหรัฐอเมริกา (ร้อยละ 7.92) อินเดีย (ร้อยละ 6.63)  ฝรั่งเศส (ร้อยละ 5.58)  จีน (ร้อยละ 5.58)  โดยประเทศไทยมีส่วนแบ่งตลาดเป็นลำดับที่ 6  (ร้อยละ 4.37) (ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์) แต่อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมอาหารฮาลาลของไทยยังมีโอกาสดีในตลาดโลกเนื่องจากไทยมีความได้เปรียบคู่แข่งหลายประเทศ โดยได้รับการยอมรับในตลาดโลกทั้งด้านคุณภาพและรสชาติ ซึ่งสามารถต่อยอดพัฒนาเป็นอาหารฮาลาลได้ ซึ่งในขณะนี้ขนาดของตลาดอาหารฮาลาลโลกมีมูลค่า 1.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ เติบโตเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 7.4 ต่อปี โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2557 (ม.ค. –มิ.ย.) ประเทศไทย มีมูลค่าการส่งออกอาหารฮาลาลอยู่ที่ 2,980.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.15 แต่คาดว่าภายในปี 2558 ไทยจะสามารถกระตุ้นยอดการส่งออกอาหารฮาลาลเพิ่มขึ้นได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 8 ต่อปีทั้งนี้ สินค้าอาหารฮาลาลส่งออกที่สำคัญของไทย และแนวโน้มเติบโตได้ดีในตลาดมุสลิม มีดังนี้

  • ข้าวและน้ำตาลทราย อาทิ ผลิตภัณฑ์ข้าวและข้าวลาลี น้ำตาลทรายขาว เนื่องจากประเทศ
    ในกลุ่มมุสลิมส่วนใหญ่มีสภาพภูมิประเทศที่ไม่เอื้อต่อการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร
    จึงมักนำเข้า ข้าว และน้ำตาลจากประเทศไทย
  • ผักและผลไม้สดแช่เย็น – แช่แข็ง โดยเฉพาะผลไม้ไทยเป็นที่นิยมและได้รับการยอมรับว่า
    มีคุณภาพและรสชาติดีมากในตลาดมุสลิม  เช่น มะม่วง และทุเรียน เป็นต้น
  • อาหารพร้อมปรุงและพร้อมรับประทานทั้งแบบแช่แข็ง แปรรูป และบรรจุกระป๋อง อาทิ อาหารทะเลแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกแช่แข็ง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนมขบเคี้ยว รวมทั้งอาหาร พร้อมรับประทานแบบตะวันตก เช่น ขนมปัง พาสต้า และสปาเกตตี
  • อาหารฮาลาลอินทรีย์ (Organic Halal Food) นับเป็นอีกหนึ่งตลาดที่น่าสนใจ และมีแนวโน้มได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นตามกระแสการรักสุขภาพ โดยเน้นเจาะกลุ่มตลาดมุสลิมที่มีรายได้ปานกลางค่อนข้างสูง-รายได้สูง

เครื่องดื่มรังนกสำเร็จรูปฮ่องเต้ (2)นายอาทิตย์  กล่าวต่อว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม  (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เห็นความสำคัญในการพัฒนาภาคการผลิตในอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ทั้งในด้านการพัฒนาผู้ประกอบการ การแสวงหาโอกาสทางการตลาด โดยเฉพาะการสร้างเครือข่ายความร่วมมือและการจับคู่เจรจาธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการ โดยมีแนวทางในการพัฒนาผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ตามยุทธศาสตร์ดังต่อไปนี้

–          เร่งให้ความรู้ : เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของมาตรฐานอาหารฮาลาล
วิธีบริหารจัดการอาหารฮาลาล มาตรฐานฮาลาล ยุทธศาสตร์การส่งออกอาหารฮาลาลไทย
สู่อาเซียนและตลาดโลก รวมถึงการนำเข้าสินค้าจากประเทศไทย

–          ขยายตลาด : ส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมด้านอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลให้มีความพร้อมสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลทั้งตลาดภายในและต่างประเทศ

–          สร้างโอกาส (Business Networking) : ยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมด้านอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และสามารถเพิ่มช่องทางการตลาดในกลุ่มประเทศอาเซียนและตลาดโลกได้

–          สร้างฐานข้อมูล : ส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมโยงและขยายความร่วมมือของผู้ประกอบการที่สนใจตลาดอาเซียน ซึ่งจะเป็นการสร้างฐานข้อมูลเพื่อการขยายตลาดมุสลิมในอาเซียนและภูมิภาค
อื่นๆ ในอนาคต

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยกองพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา 2 ร่วมมือกับ บริษัท มาย เอาท์เล็ต  พีทีอี จำกัด (My Outlets PTE Ltd.,) ผู้ผลิต จัดจำหน่าย และนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลจากประเทศสิงคโปร์และจีน จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมฮาลาล ในหัวข้อ “พัฒนาศักยภาพและสร้างมูลค่าเพิ่มอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล” พร้อมจับคู่ธุรกิจ ภายใต้โครงการพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปและฮาลาล โดยเล็งเห็นความสำคัญของการเชื่อมโยงธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลของกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งมีประชากรมุสลิมกว่า 300 ล้านคน โดยนำร่องพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในธุรกิจอุตสาหกรรมฮาลาลเบื้องต้น จำนวน 150 ราย

โครงการดังกล่าวเป็นการช่วยส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวในด้านการค้าและการลงทุนของไทย โดยให้ความรู้ในด้านการส่งออกสินค้า และมาตรฐานทางการค้าอื่นๆ ตลอดจนการอำนวยความสะดวกทางด้านการค้าและการลงทุนระหว่างกันให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศสิงคโปร์มาเลเซียและจีน ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจ รวมทั้งสร้างโอกาสในการขยายตลาดฮาลาลในภูมิภาคอื่นต่อไป  โดยภายในกิจกรรมจะมีการบรรยายจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ในประเด็นต่างๆ อาทิ ความสำคัญของมาตรฐานอาหารฮาลาล และวิธีบริหารจัดการอาหารฮาลาล ยุทธศาสตร์การส่งออกอาหารฮาลาลไทยสู่อาเซียนและตลาดโลก ไปจนถึงการนำเข้าสินค้าจากประเทศไทย และประโยชน์ที่ผู้ประกอบการจะได้รับ นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมนำสินค้ามาร่วมจัดแสดงเพื่อโชว์ศักยภาพ พร้อมสร้างเครือข่ายและเชื่อมโยงธุรกิจอุตสาหกรรม (Business Matching) ในกลุ่มประเทศอาเซียนอีกด้วย ทั้งนี้กิจกรรมดังกล่าวจะสามารถทำให้วิสาหกิจที่เข้าร่วมมีความพร้อมสู่ตลาดฮาลาลในต่างประเทศเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 80 และคาดว่าจะก่อให้เกิดมูลค่าการซื้อขายไม่น้อยกว่า 1 พันล้านบาท ต่อปี นายอาทิตย์ กล่าวสรุป

สำหรับผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไปสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกิจกรรมพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ได้ที่ ส่วนพัฒนาอุตสาหกรรมอาหาร กองพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา 2 อาคารพัฒนาสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ซอยตรีมิตร กล้วยน้ำไท กรุงเทพฯ  โทรศัพท์  0-2367-8127

Factsheet ข้อมูลอุตสาหกรรมฮาลาล.

Factsheet อาหารฮาลาล